เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค] 8. โกสัมพิยสูตร

บุคคลผู้ทำตามนั้นออกไป เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นธรรมชั้นยอดที่ยึดคุม
สาราณียธรรม 6 ประการนี้ไว้
ภิกษุทั้งหลาย ยอดอันเป็นส่วนสูงสุดเป็นที่ยึดคุมเรือนยอด แม้ฉันใด ทิฏฐิ
อันไกลจากกิเลสที่เป็นข้าศึก เป็นนิยยานิกธรรมนำบุคคลผู้ทำตามนั้นออกไป เพื่อ
ความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นธรรมชั้นยอดที่ยึดคุมสาราณียธรรม
6 ประการนี้ไว้

ทิฏฐิคือญาณของอริยสาวก 7 ประการ

[493] ทิฏฐิอันประเสริฐ เป็นนิยยานิกธรรม เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
แก่ผู้ทำตามเสมอกัน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า 'เรามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลส(กิเลสเป็นเครื่องครอบงำ)
ใดครอบงำแล้ว ไม่พึงรู้เห็นตามความเป็นจริง ปริยุฏฐานกิเลสนั้นที่เรายังละไม่ได้
ในภายในมีอยู่หรือ'
ถ้าภิกษุมีจิตถูกกามราคะครอบงำ ก็ชื่อว่ามีจิตถูกปริยุฏฐานกิเลสครอบงำแล้ว
มีจิตถูกพยาบาทครอบงำ ก็ชื่อว่ามีจิตถูกปริยุฏฐานกิเลสครอบงำแล้ว มีจิตถูก
ถีนมิทธะครอบงำ ก็ชื่อว่ามีจิตถูกปริยุฏฐานกิเลสครอบงำแล้ว มีจิตถูกอุทธัจจ-
กุกกุจจะครอบงำ ก็ชื่อว่ามีจิตถูกปริยุฏฐานกิเลสครอบงำแล้ว มีจิตถูกวิจิกิจฉาครอบงำ
ก็ชื่อว่ามีจิตถูกปริยุฏฐานกิเลสครอบงำแล้ว มีความขวนขวายในการคิดเรื่องโลกนี้
ก็ชื่อว่ามีจิตถูกปริยุฏฐานกิเลสครอบงำแล้ว มีความขวนขวายในการคิดเรื่องโลกหน้า
ก็ชื่อว่ามีจิตถูกปริยุฏฐานกิเลสครอบงำแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทง
กันอยู่ ก็ชื่อว่ามีจิตถูกปริยุฏฐานกิเลสครอบงำแล้ว เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า 'เรามีจิต
ถูกปริยุฏฐานกิเลสใดครอบงำแล้ว ไม่พึงรู้เห็นตามความเป็นจริง ปริยุฏฐานกิเลส
นั้นที่เรายังละไม่ได้ในภายใน มิได้มีเลย เราตั้งจิตไว้ดีแล้ว เพื่อตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย'

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :533 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค] 8. โกสัมพิยสูตร

นี้คือญาณที่ 1 ที่เป็นอริยะ เป็นโลกุตตระ ไม่ทั่วไปแก่ปุถุชนทั้งหลาย ซึ่ง
ภิกษุนั้นบรรลุแล้ว
[494] อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า 'เราเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งทิฏฐินี้
ก็ได้ความสงบเฉพาะตน ก็ได้ความดับกิเลสเฉพาะตนหรือ' อริยสาวกนั้น ก็รู้ชัด
อย่างนี้ว่า 'เรา เสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งทิฏฐินี้ ก็ได้ความสงบเฉพาะตน ก็ได้
ความดับกิเลสเฉพาะตน'
นี้คือญาณที่ 2 ที่เป็นอริยะ เป็นโลกุตตระ ไม่ทั่วไปแก่ปุถุชนทั้งหลาย ซึ่ง
อริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว
[495] อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า 'เรามีทิฏฐิเช่นใด สมณะหรือ
พราหมณ์อื่นนอกธรรมวินัยนี้ผู้มีทิฏฐิเช่นนั้นมีอยู่หรือ' อริยสาวกนั้น ก็รู้ชัดอย่างนี้
ว่า 'เรามีทิฏฐิเช่นใด สมณะหรือพราหมณ์อื่นนอกธรรมวินัยนี้ ผู้มีทิฏฐิเช่นนั้น
มิได้มี'
นี้คือญาณที่ 3 ที่เป็นอริยะ เป็นโลกุตตระ ไม่ทั่วไปแก่ปุถุชนทั้งหลาย ซึ่ง
อริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว
[496] อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า 'บุคคลผู้มีทิฏฐิ เป็นผู้มีสภาพเช่นใด
ถึงเราก็มีสภาพเช่นนั้น'
บุคคลผู้มีทิฏฐิ เป็นผู้มีสภาพอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีทิฏฐิ เป็นผู้มีสภาพอย่างนี้ คือ การออกจากอาบัติ
เช่นใดย่อมปรากฏ อริยสาวกต้องอาบัติเช่นนั้นก็รีบแสดง เปิดเผย ทำให้ชัดเจน
อาบัตินั้นในสำนักศาสดา หรือเพื่อนพรหมจารีที่เป็นวิญญูชนทั้งหลาย ครั้นแสดง
เปิดเผย ทำให้ชัดเจนแล้วก็สำรวมระวังต่อไป เด็กอ่อนที่นอนหงาย มือหรือเท้า
ถูกถ่านไฟแล้วก็ชักมือหรือเท้ากลับทันที แม้ฉันใด บุคคลผู้มีทิฏฐิก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เป็นผู้มีสภาพอย่างนี้ คือการออกจากอาบัติเช่นใดย่อมปรากฏ อริยสาวกต้องอาบัติ
เช่นนั้น ก็รีบแสดง เปิดเผย ทำให้ชัดเจนอาบัตินั้นในสำนักศาสดา หรือเพื่อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :534 }